เทพเจ้าซีอุส

เทพเจ้าซีอุส




เทวรูปเทพเจ้าซีอุส 
สถานที่ตั้ง เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซ 
ปัจจุบัน ไม่เหลือซาก 

เป็นเทวรูปของจอมเทปซีอุสที่สร้างด้วยไม้ ประดับด้วยทองคำและงาช้าง ลักษณะประทับนั่ง อยู่บนฐานกว้าง 10 เมตรครึ่ง ตัวเทวรูปสูง 9 เมตร ออกแบบก่อสร้างในศตวรรษที่ 5 ก่อน ค.ศ. โดยฝีมือประติมากรเอกของกรุงเอเธนส์ นาม ฟิดิแอส เทวรูปนี้ประดิษฐานอยู่ในวิหารเมืองโอลิมเปียของกรีก และถูกไฟไหม้วอดวายใน ค.ศ.475 จนไร้ร่องรอยใดๆทำความลำบากให้แก่คณะโบราณคดีผู้ตามรอย จึงต้องศึกษาจากเอกสารโบราณของกรีก และทำการขุดค้นที่เมืองโอลิมเปีย จนพบส่วนของฐานที่ตั้งเทวรูปซึ่งมีรอยบาทขององค์ซีอุสปรากฏอยู่ ทำให้สามารถคำนวณหาความสูงของเทวรูปได้

อนุสาวรีย์นี้เป็นรูปสลักเทพเจ้าซีอูส นั่งบนบัลลังก์สีทองที่แกะสลักด้วยงาช้างจำนวนมากมาประกอบกันขึ้น ผู้ที่ปั้นเทวรูปซีอุสนี้ เป็นปฏิมากรเอกชาวกรีก ชื่อ ฟีดีอัส เป็นคนเดียวกับที่สร้างวิหารพาเธนอน ในกรุงเอเธนส์ และสนามกีฬาโอลิมปิค 

เทวรูปซีอุส เป็นสิ่งมหัศจรรย์ยุคเก่าแก่สิ่งหนึ่งของโลก คือ สร้างขึ้นประมาณ 2,400 ปีก่อน ระหว่งปี ค.ศ. 53 - 111 ตามตำนานที่จารึกไว้ได้ระบุว่าเทวรูปทำจากงาช้างสูง 58 ฟุต มีขนาดใหญ่กว่าคนปรกติถึง 8 เท่า พระหัตถ์ซ้ายทรงคทา พระหัตถ์ขวารองรับ รูปปั้นแห่งชัยชนะ (A small figure of Victory ) มีเครื่องประดับ ประดาด้วยทองคำล้วน 

ชาวโรมันเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จูปีเตอร์ ชาวกรีกได้เรียกเทวรูปนี้ว่า ซุส ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นผู้นำแห่งเทพเจ้า ชาวกรีกนับถื่อมากที่สุดในยุคนั้น ใครจะออกเดินทางไปเมืองใดต้องมาพรจากพระองค์เสียก่อน 
แต่บัดนี้ไม่มีหลักฐานให็เป็นที่ชมได้เพราะได้ถูกไฟเผาไหม้หมดทั้งองค์ในปี ค.ศ. 476 คงเห็นภาพในเหรียญ ตราโบราณ และจากจินตนาการที่ได้มาจากคำบอกเล่า หรือ นิยายปรัมปราเท่านั้น แต่ความงาม ความใหญ่โตศักดิสิทธิ์ ยังคงเป็นที่ยกย่องเล่าลือมาจนถึงปัจจุบันนี้
เทพเจ้า ซุส หรือ ซีอุส [zeus]เทพเจ้าแห่งขุนเขาโอลิมปุส
...หลังจากปราบยักษ์เสร็จปราศจากเสี้ยนหนามใด ๆ แล้ว ซูสก็ขึ้นครองบัลลังก์รั้งอำนาจเต็มตลอด 3 ภพ คือสวรรค์ พิภพและบาดาล แต่ไท้เธอตระหนักดีว่า การที่จะปกครองทั้ง 3 ภพและทะเลให้ทั่วถึงมิใช่เรื่องง่าย หาใช่ภาระเล็กน้อยไม่ เพื่อป้องกันการแก่งแย่งและกระด้างกระเดื่อง ไท้เธอจึงจัดสรรอำนาจยอมยกให้เทพภราดรมีเอกสิทธิในการปกครองอาณาเขตดังนี้
- เนปจูน หรือ โปเซดอน ได้ครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแม่น้ำทั้งปวง พลูโต หรือ ฮาเดส เป็นเจ้าแห่งตรุทาร์ทะรัส และแดนบาดาลทั้งหมดอันรัศมีของแสงอาทิตย์ไม่เคยส่องลอดไปถึงเลย ส่วน ยูปิเตอร์ หรือตัว ซูส เองปกครองทั้งสวรรค์และพิภพ แต่ก็มีอำนาจที่จะสอดส่องดูแลกิจการทั่วไปในเขตแดนของเทพภราดรทั้งสองได้บ้าง 
เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ความสงบราบคาบบังเกิดขึ้นตลอดสวรรค์และพิภพเทพทั้งหลายก็ประนังประนอมกันดี ธรรมชาติทั้งมวลก็ประกอบพร้อมแล้ว แม้แต่สถานที่ซึ่งชีวิตฝ่ายกุศลและอกุศลจะพึงดลเมื่อล่วงลับแล้ว ก็จัดไว้พร้อมสรรพ
- หากกล่าวถึงบทบาทของไท้เทพซูสแล้วต้องยอมรับว่า ไท้เธอมีบทบาทขัดแย้งในองค์เองมากที่สุดในบรรดาเทวานุเทวะ ด้วยกันเนื่องจากทรงเป็นมหาเทพผู้ทรงอำนาจสูงสุด และมีผู้เคารพนับถือโดยทั่วไปเป็นที่ยำเกรงของสามโลก ทรงไว้ซึ่งฤทธิ์อำนาจ ล้นฟ้าล้นแผ่นดิน แต่กลับทรงมีอุปนิสัยเหมือนบุรุษหนุ่มธรรมดา ๆ บางคน นั่นคือ ความเกรงใจที่มอบให้แก่มหาเทวี ฮีร่า ชายาของ ไท้เธออย่างมาก หากพูดกันตามประสา ก็คือ"กลัวเมีย"และสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ความเจ้าชู้ที่มีอยู่ในตัวมหาเทพซุสนั่นเอง
ความขัดแย้งอีกประการหนึ่งที่มีอยู่ในตัวมหาเทพองค์นี้ คือ แม้ว่าไท้เธอจะมีอำนาจสูงสุดทั่วสามภพ แต่ไม่อาจใช้อำนาจของ ตนไปแตะต้องเทพองค์หนึ่งได้ ทั้ง ๆ ที่เทพองค์นั้นก็เป็นเพียงเทวะชั้นรอง และไม่สามารถมาประชันขันแข่งกับซูสเทพบดีได้ เทพ องค์นั้นมีนามว่า ชะตาเทพ (Fate) แสดงว่าไม่มีผู้ใดเลย แม้แต่เหล่าทวยเทพจะหาญสู้ หลีกเลี่ยง หรือก้าวก่ายกับชะตาชีวิตได้
 ด้วยเหคุนี้การที่มหาเทพซูสมีอะไรแย้ง ๆ กันในองค์เอง อาจเป็นเพราะชาวกรีกโบราณที่สร้าง เหล่าทวยเทพขึ้นนับถือ มีความเป็นนักปรัชญาอยู่เต็มตัว เขาจึงสร้างทวยเทพของเขาให้ละม้ายแม้นกับ มนุษย์ปุถุชน มีทั้งข้อดีและจุดบกพร่อง คุณงามความดีอันสำคัญของมหาเทพซูสเป็นอีกอย่างหนึ่งที่บ่ง บอกว่า ผู้ที่เคารพนับถือไท้เธอเป็นนักปราชญ์มากกว่านักสงคราม ก็คือ ซูสทรงรักสัจจะและความเป็น ธรรมอย่างที่สุด ทรงเกลียดชังคนโกงและคนโกหกอย่างที่สุด การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเพื่อถวายแด่ พระองค์นักกีฬาจึงต้องแข่งกันอย่างตรงไปตรงมาที่สุด
รูปสลักของซูสเทพบดีมีลักษณะเป็นบุรุษสูงวัย ล่ำสันแข็งแรง พักตร์มีสง่าราศี กอปรด้วยเครายาวและเกศาหยิกสลวย ไท้เธอมี อสนีบาต (Thunder bolt) เป็นอาวุธประจำกาย ทรงเกราะทองประกายวาววับ ซึ่งเกราะทองนี้ไม่มีมนุษย์สามัญจะทน มองได้ แม้แต่ทวยเทพด้วยกันเอง หากไปเพ่งมองแสงเจิดจ้าของเกราะทองเข้าก็ย่ำแย่เช่นกัน ทรงมีพญานกอินทรีเป็นนกเลี้ยง ต้นโอ๊คเป็นพฤกษาประจำองค์ มีมหาวิหารและศูนย์กลางศรัทธาในตัวพระองค์อยู่ที่เมืองโอลิมเปีย
ดังที่กล่าวมาแล้วแต่ต้นว่า ซูสเป็นมหาเทพที่เจ้าชู้ที่สุดองค์หนึ่งในวงศ์โอลิมเปี้ยน เรื่องราวความรักของไท้เธอมีมากหลาย เรื่องเป็นตำนานเล่าสืบทอดกันมากมาย
ซูสเทพบดีออกจะถนัดถนี่ในการล่อลวงสตรีสาวสวยยิ่งกว่า เหล่าเทพองค์ใด ๆ เท่าที่เคยมีมา ทรงปลอมเป็นวัวสีขาวสง่างาม ไปหลอกโฉมงามนาง ยูโรปาไปเชยชมที่เกาะครีต
นอกจากนี้ ยังทรงแปลงเป็นหงส์ไปก้อร่อก้อติกสาวงามนาม ลีดา (Leda)จน อนงค์นางตั้งครรภ์และคลอดออกมาเป็นไข่ ครั้นไข่แตกออก แทนที่จะเป็นตัวประหลาดครึ่งคนครึ่งหงส์โผล่ออกมาอย่างตำนานทั่วไป กลับกลายเป็นฝาแฝดชายคู่หนึ่ง ได้แก่ คัสเตอร์ (Castor) กับ โพลิดียูซิส (Polydeuses) หรือ พอลลักซ์ (Pallux ) ในภาษา โรมัน สิ่งที่ทำให้ทารกคู่นี้เป็นพยานความสัมพันธ์ระหว่างเทพกับมนุษย์คือ คนหนึ่งมีกายเป็นอมตะดั่งเทพ แต่อีกคนหนึ่งตายได้ อย่างมนุษย์สามัญธรรมดา
นอกจาก ฝาแฝดชายคู่นี้แล้ว ลีดายังมีแฝดหญิงอีกคู่หนึ่ง ซึ่งกระเดื่องเลื่องชื่อที่สุดในตำนานกรีกโบราณ หนึ่งนั้นนามว่า เฮเลน เดอะบิวติฟุล ต้นเหตุของมหาสงครามกรุงทรอย อีก หนึ่งคือ ไคลเตมเนสตร้า (Clytemnestra) ซึ่งต่อมาได้เป็นมเหสีของ อกาเมมนอนแห่งไมซีนี่(ความสัมพันธ์สวาทของนางลีดากับพญาหงส์ปลอมที่มหาเทพซูสทรง จำแลงมานั้น เป็นไปอย่างซ่อนเร้น เพราะลีดาเป็นมเหสีของท้าว ทินดาริอุส (Tindarius) แห่งสปาร์ต้า เมื่อลีดาให้กำเนิดเฮเลนและ ไคลเตมเนสตร้า ทินดาริอุสก็นึก ว่าเป็นธิดาของพระองค์)
ยังมีเรื่องพิศวาสระหว่างซูสกับนวลอนงค์อื่น ๆ อีกมาก อาทิสัมพันธ์รักกับนางไอโอ ที่เป็นยายของ วีรบุรุษ เฮอร์คิวลิส รักกับไดโอนีและมีธิดา นามว่า อโฟรไดท์ พิสมัยกับไมอาและมีโอรสนามว่า เฮอร์มิส ฯลฯ

ย้อนกลับไป ขณะที่ยูเรนัสล้มลงจมกองเลือดของตนเอง เพราะถูกโครนัสชิงบัลลังก์ ก็ปรากฎร่างของพวกยักษ์ธรรมดา (Giants)กับพวกภูตพยาบาทฟิวรัส หรือ อีรินิส (Erinyes) กระโดดออกจากกองเลือด พร้อมกันนั้น ยูเรนัสได้สาปแช่งโครนัสว่า ให้ถูกลูกๆของตนเองแย่งอำนาจเช่นเดียวกัน
หลังจากยึดอำนาจจากยูเรนัส เทพบิดาได้แล้ว เทพโครนัส (แซตเทิร์น) ก็ขึ้นครองบัลลังก์ความเป็นใหญ่โดยมีคณะเทพไตตันให้ความสนับสนุน และเลือกพระน้องนางรีอา(บางทีเรียกว่า เรีย โรมันเรียกว่า ออปส์ Ops) เป็นมเหสี พร้อมทั้งแบ่งสันปันส่วนอื่นๆของพิภพให้กับบรรดาพี่น้องได้ปกครอง วันหนึ่ง โครนัสได้รับแจ้งว่า พระนางรีอา มเหสีของพระองค์ประสูติเทพโอรสองค์หนึ่งให้กับพระองค์ คำสาปแช่งของเทพบิดาก็ผุดขึ้นในความทรงจำของโครนัสทันที โครนัสจึงจับเทพกุมารองค์นั้นกลืนกินเสีย
ต่อมา.. ไม่ว่าจะมีโอรสหรือธิดาประสูติอีกกี่องค์ โครนัสก็จับกลืนกินหมดโดยไม่ยอมฟังคำวิงวอนของพระนางรีอาเลย ในที่สุด พระนางรีอาก็ตัดสินใจซ่อนเทพโอรสองค์สุดท้องเอาไว้ ด้วยการเอาก้อนหินห่อผ้าให้โครนัสกลืนกินแทน โครนัสไม่ทันเฉลียวใจ
พระนางรีอาจำเอาเทพกุมารไปฝากในความดูแลของเหล่านางอัปสรนีเรียด ธิดาของเทพนีรูส เทพกุมารนี้มีนามว่า ซีอุส หรือที่ชาวโรมันเรียกว่า จูปิเตอร์ วันเวลาผ่านไป ซีอุสเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ แข็งแรง และฉลาดปราดเปรื่อง แล้วก็ถึงเวลาแห่งคำสาปแช่ง
ซีอุสจู่โจมเข้าเล่นงานเพื่อยึดอำนาจจากโครนัส โครนัสเป็นฝ่ายพลาดท่าเสียทีพ่ายแพ้ และถูกจับตัวไว้ซีอุสจึงปรีกษากับเจ้าแม่รีอาบังคับให้เทพโครนัสดื่มน้ำสำรอกที่ มีทิส ธิดาของโอเชียนัส ปรุงขึ้น หลังจากดื่มน้ำสำรอกเข้าไป โครนัสก็สำรอกลูกๆที่เคยกลืนกินเข้าไปออกมา รวมทั้งหมด 5 องค์คือ
1. โปไซดอน (Poseidon) หรือ เนปจูน (Neptune)
2. ฮาเดส (Hades) หรือ พลูโต (Pluto)
3. เฮสเทีย (Hestia) หรือ เวสตา (Vesta)
4. ดีมิเตอร์ (Demeter) หรือ ซีรีส (Deres)
5. ฮีรา (Hera) หรือ จูโน (Juno)
(ชื่อแรกเป็นภาษากรีก ส่วนชื่อหลังเป็นภาษาโรมัน)
และก้อนหินที่เข้าใจผิดคิดว่าเป็นซีอุสออกมาด้วย
เทพทั้ง 5 ที่โครนัสสำรอกออกมานี้ 2 องค์แรกเป็นเทพบุตร ส่วน 3 องค์หลังเป็นเทพธิดานอกจากทั้งหมดจะไม่ตายแล้ว ยังเติบโตเป็นผู้ใหญ่อีกด้วย ซีอุสจึงตั้งตนขึ้นเป็นราชาแห่งทวยเทพ แต่หนทางครองบัลลังก์ก็ไม่ราบรื่น เนื่องจากเกิดศีกใหญ่หมายจะโค่นล้มพระองค์อีกหลายครั้งหลายคราว

ศึกครั้งแรกคือ ศึกเทพไตตัน ซึ่งยังจงรักภักดีต่อโครนัสอยู่ ได้ยกทัพมาล้อมเขาโอลิมปัสไว้ จึงเกิดการขับเคี่ยวกันเป็นเวลาช้านาน พระองค์เห็นข้าศึกจำนวนมากแถามทรงพลังน่าเกรงขาม นึงหันไปญาติดีกับพวกยักษ์ไซคลอปส์ที่ยังถูกขังอยู่ในคุกทาร์ทะรัสโดยให้สัญญาว่า จะปล่อยพวกยักไซคลอปส์เป็นอิสระ ถ้าช่วยสร้างอาวุธสายฟ้าให้ เมื่อได้รับข้อเสนอที่ยุติธรรมดีเช่นนั้นพวกยักษ์ก็ตกลงสร้างอาวุธอย่างเต็มกำลัง มหาเทพซีอุสใช้อาวุธไปรบกับพวกไตตัน เหล่าเทพไตตันจะพยายามร่วมแรงต้านอย่างไรก็ไม่สามารถสู้ได้
เทพไตตันบางองค์ได้ถูกจับขังไว้ในคุกทาร์ทะรัสอีกคราว ส่วนเทพโครนัสนั้นหนีไปยังต่างแดนและครองความเป็นใหญ่ตลดไป ฝ่ายยักษ์ไซคลอปส์เมื่อถูกปลดปล่อยกลับแข็งข้อ นึงถูกปราบด้วยดาบสายฟ้า
หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดศึกใหม่ เป็นอสูรที่มีหัวเป็นมังกร 100 หัว มีเปลวไฟพวยพุ่ง ชื่อว่า ไทฟอน ซึ่งถูกพระนางกีอาเนรมิตขึ้นเพื่อแก้แค้น ความน่ากลัวทำให้ เทพซีอุสและเหล่าทวยเทพพากันหนีไปอยู่ที่อียิปต์ และยังแปลงกายเป็นสัตว์ต่างๆ แต่ไม่นาน เทพซีอุสก็ละอายใจต่อการกระทำของตนจึงกลับสู่เขาโอลิมปัสเพื่อต่อสู้กับอสูรไทฟอน จนสังหารได้ แต่ก็ต้องพบกับอสูรเอนเซลาดัส
ใต้ภูเขาเอตนาได้สำเร็จแต่เอนเซลาดัสยังไม่ยอมแพ้ง่ายๆ พยายามดิ้นรน พร้อมกับคำราม บางคราวก็พ่นไฟ ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟเอตนาระเบิด บนเกาะซิสิลี หลังจากปราบศึกแล้วก็ไม่มีศึกใหญ่อะไรเกิดขึ้นอีก
มหาเทพ ซีอุสก็ได้ครองบัลลังก์ราชาแห่งทวยเทพอีกครั้ง และจัดแจงแบ่งสันปันส่วนอำนาจให้บรรดาพี่ๆ โดยให้
-โปไซดอน ปกครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแม่น้ำทั้งปวง
-ฮาเดส ปกครองบาดาล หรือยมโลก ตลอดถึงคุก ทาร์ทะรัส
-เฮสเทีย เป็นเทวีแห่งไฟ และความผาสุกในเคหสถาน
-ดีมิเตอร์ เป็นเทวีแห่งธัญญาหาร
-ธีรา เป็นเทวีผู้คุ้มครองการวิวาห์